น้ำมันเบรกเปลี่ยนตอนไหน? ไขสงสัย เปิดวิธีดูไม่ซับซ้อน สังเกตเองได้
ไขสงสัยผู้ใช้รถ หลายคนอาจจะสงสัยว่าน้ำมันเบรกควรเปลี่ยนตอนไหนดี ควรเปลี่ยนบ่อยหรือเปล่า และหากเราจะดูเองเราจะมีวีธีสังเกตที่ตรงไหน และหากเราเป็นผู้ใช้รถที่ไม่สัดทัดนัก การเปลี่ยนน้ำมันเบรกไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการที่จะทำเอง การเข้าศูนย์ให้ผู้ที่ชำนาญจึงเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับเราได้ ถึงแม้ว่าน้ำมันเบรก จะเป็นส่วนเล็กๆ ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่หากเราไม่ดูและไม่สนใจเลยก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งตัวผู้ขับขี่ และผู้ใช้ถนนร่วมกับเรา สิ่งที่เราต้องรู้มีดังนี้
น้ำมันเบรก คือ
น้ำมันไฮโดรลิกซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในระบบเบรกของรถยนต์ โดยเป็นตัวช่วยส่งแรงดันจากแม่ปั๊มเบรกไปยังลูกสูบ ในขณะที่เราทำการเบรกรถเพื่อให้เกิดการเสียดสีระหว่างผ้าเบรกและช่วยให้รถหยุด
น้ำมันเบรกเปลี่ยนตอนไหน
ส่วนใหญ่ เฉลี่ยจะเปลี่ยนทุกๆ 40,000 กิโลเมตร หรือ 1-2 ปี และโดยมากน้ำมันเบรกจะมีอายุการใช้งานถึง 80,000 กิโลเมตร หรือเฉลี่ยแล้ว 3 ปี แล้วแต่อะไรถึงก่อน แต่หากถึง 3 ปีแล้วควรเปลี่ยนทันที เพราะน้ำมันอาจจะเสื่อมคุณภาพในการใช้งาน นอกจากการสังเกตน้ำมันเบรกแล้ว ควรจะสังเกตผ้าเบรกร่วมด้วยก็จะดี
วิธีสังเกตน้ำมันเบรก ควรมีปริมาณที่ Max ตลอดเพราะหากมีการพร่องควรรีบตรวจทันที ว่ารั่วหรือซึม หรือว่ามีอาการใดที่ผิดปกติหรือไม่
ประเภทน้ำมันเบรก
Dot3 Dot4 Dot5 แต่ก็ยังคงมีแยกย่อยไปอีก รถยนต์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้ Dot3 และ Dot4 รถซุปเปอร์คาร์ส่วนมากจะใช้น้ำมันเบรก Dot 5 ความแตกต่างของแต่ละประเภทอยู่ที่จุดเดือดส่วนเรื่องคุณภาพ อยู่กับยี่ห้อที่ตรงกับรถของตัวเอง
รู้ได้อย่างไรเมื่อถึงเวลา
-สมรรถนะในการขับขี่ที่แย่ขึ้นจากเดิม หากน้ำมันเบรกเสื่อม อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
-เบรกยากขึ้น
-เกิดเสียงจากการเบรก
-จานเบรกอาจะมีรอย หรือหัก หรือทำให้เบรกแตกได้
-น้ำมันเบรกมีสีคล้ำขึ้น
น้ำมันเบรกที่ดี ควรจะเป็น
1. มีจุดเดือดสูง ระเหยได้ยาก
2. เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลังเบรกจากแป้นสู่ระบบได้ดี
3. ทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นที่ดีป้องกันการเสียดสี
4. มีความหนืดที่ดี ทั้งในอุณหภูมิที่ร้อนและเย็นจัด
5. ไม่กัดกร่อนโลหะหรือยาง ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอะไหล่ในระบบเบรก
อย่างไรก็ตาม หากเราไม่รู้จริงๆ เมื่อใช้รถถึงประมาณ 10,000-20,000 กิโลเมตร ก็ควรเข้าศูนย์หรือร้านที่เราไว้ใจได้เพื่อเช็กสภาพทั้งหมดโดยรวม ไม่ให้ขาดตกบกพร่องสักจุด ก็จะทำให้เรารู้อาการของรถ และใช้รถอย่างปลอดภัยได้นั่นเอง.
Cr.ไทยรัฐออนไลน์>>ยานยนต์